บทที่ 14 ไฟฟ้ากระแส


บทที่ 14 ไฟฟ้ากระแส









ในบทที่แล้วเรื่องไฟฟ้าสถิต เรานิยามศักดิ์ไฟฟ้าว่าวัดในหน่วยโวลต์ (V) ในบทนี้เราจะได้เห็นว่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้ามีลักษณะเป็นความดันไฟฟ้าซึ่งสามารถผลักดันแถวของกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A) และความต้านทานที่ต้านกระแสนี้มีหน่วยเป็นโอห์ม ( V=IR ) เมื่อกระแสเคลื่อนที่ผ่านวงจรไปทางเดียวเราเรียกว่ากระแสตรง(direct current , dc) ถ้ากระแสกลับไปกลับมา 2 ทางเรียกว่ากระแสสลับ (alternating current , ac) กระแสไฟฟ้าสามารถนำกำลังไฟฟ้าไปใช้งานได้ กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์ (W)


การไหลของประจุ (Flow of Charge)
จะมีประแสไหลก็ต่อเมื่อปลายทั้งสองของลวดตัวนำมีความต่างศักดิ์ไม่เท่ากันเช่นเมื่อเราต่อถ่านไฟฉายกับลวดตัวนำความต่างศักดิ์ด้านที่ต่อกับขั้วบวกของถ่านมีความต่างศักดิ์สูงกว่าด้านที่ต่อกับขั้วลบ ดังนั้นจะมีกระแสไหลผ่านจากขั้วบวกไปขั้วลบ ถ้าเราเอาหลอดไฟไปต่อกับลวดตัวน้ำนี้หลอดไฟก็จะสว่างขึ้น
เปรียบเทียบการไหลของกระแสไฟฟ้ากับการไหลของน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ น้ำจะหยุดไหลเมื่อระดับน้ำเท่ากันเช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าจะไม่ไหลถ้าไม่มีความต่างศักดิ์
กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอนอิสระไปตามสายไฟแต่โปรตอนจะอยู่กับที่เพราะโปรตอนอยู่ที่นิวเคลียสกลางอะตอมทำให้อยู่กับที่กระแสไฟฟ้าวัดในหน่วยแอมแปร์ (A) ซึ่ง 1 แอมแปร์คือการไหลของประจุอิเล็กตรอน 1 คูลอมภายใน 1 วินาที 
( 1 คูลอมมีค่าเท่ากับประจุอิเล็กตอน 6.25 พันล้าน อิเล็กตรอน) ควรระลึกไว้เสมอว่าเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปในลวดตัวนำทำให้เกิดประจุบวกคือนิวเคลียสของอะตอม ดังนั้นประจุรวมในเส้นลวดยังคงเดิมทั้งก่อนและหลังมีกระแสไฟฟ้าไหลในเส้นลวด
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Voltage Sources)


จะมีกระแสไฟฟ้าไหลเฉพาะเวลาที่มีแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามาต่อในวงจร แหล่งกำเนิดไฟฟ้าเช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ไดนาโม เป็นต้น แบตเตอรี่อาศัยการทำปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดกับขั้วสังกะสี และทองแดงทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานศักดิ์ผลักดันให้กระแสไฟไหล ส่วนไดนาโมอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กกับขดลวดทำให้กระแสไฟฟ้าไหล
ถ่าน 3มีความต่างศักดิ์ 12 ซึ่งหมายความว่าให้พลังงาน 12 ทุกๆประจุ C ไหลในวงจร ความต่างศักดิ์ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ประจุไหลไปในวงจร แต่ความต่างศักดิ์อยู่ที่เดิมกับแหล่งกำเนิด

a. จำลองการทำงานของตัวต้านทาน b. วงจรตัวต้านทาน
ความต้านทาน (Electrical Resistance)
จะมีกระแสไฟมากน้อยขึ้นอยู่กับความต่างศักดิ์ และขึ้นอยู่กับว่าในวงจรนั้นมีความต้านทานเท่าไร เส้นลวดที่ใหญ่กว่าความต่านทานน้อยกว่าเส้นลวดที่เล็ก เส้นลวดสั้นความต้านทานน้อยกว่าเส้นลวดยาว นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดของตัวนำอีกด้วย ที่ขนาดเท่ากันทองแดงความต้านทานน้อยกว่าเหล็ก และความต้านทานขึ้นกับอุณหภูมิอีกด้วย วัตถุเดียวกันที่อุณหภูมิต่ำมีความต้านทานน้อยกว่าอุณหภูมิสูง และตัวนำยิ่งยวดจะมีความต้านทานเป็น 0 เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำมากๆ

หน่วยของความต้านทานคือ โอห์ม ใช้อักษรกรีกโอเมกา ซึ่งตั้งเป็นเกียรติแก่ จอด ไซมอน โอห์ม
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี 1826 ซึ่งค้นพบความสำพันธ์ระหว่างกระแส ความต่างศักดิ์ และความต้านทาน ที่เราเรียกว่ากฎของโอห์ม
กฎของโอห์ม (Ohm's Law)
ความสำพันธ์ระหว่างกระแส ความต่างศักดิ์และความต้านทาน เป็นไปตามกฎของโอห์ม โอห์มเป็นคนแรกที่สังเกตว่ากระแสแปรผันตรงกับความต่างศักดิ์ แต่แปรผกผันกับความต้านทานเขียนได้เป็นสมการดังนี้

กระแส ความต่างศักดิ์ / ความต้านทาน


หรือเขียนในรูปของหน่วย
แอมแปร์ โวลต์ / โอห์ม

สมการนี้หมายความว่าเมื่อเพิ่มความต่างศักดิ์กระแสก็เพิ่มตาม แต่ถ้าเพิ่มความต้านทานจะทำให้กระแสลดลง ในอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดมีความต้านทานภายในเช่น หลอดไฟมีความต้านทาน 
เครื่องปิ้งขนมปังมีความต้านทาน 
 ตัวต้านทาน
กฎของโอห์มและไฟดูด (Ohm's law and Electric Shock)
กระแสไฟฟ้าถ้าไหลในร่างกายของเราจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดและเป็นอันตรายได้ กระแสไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของร่างกาย ถ้าความต้านทานมากกระแสก็ไม่สามารถไหลผ่านได้ เราเคยได้ยินว่าเวลาที่ตัวเปียกอย่าไปจับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะเวลาที่ตัวเราเปียกความต้านทานจะเหลือเพียง 


ความต้านทานเท่ากับหลอดไฟหลอดหนึ่ง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้สะดวก เราก็จะถูกไฟดูดได้ง่ายมาก แต่ถ้าเราตัวแห้งจะมีความต้านทานสูง  (การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งต้องระมัดระวัง)
เราจะไม่รู้สึกอะไรถ้ารับความต่างศักดิ์ 12 แต่ถ้าเริ่มที่ 24 จะเริ่มรู้สึกเจ็บ ตารางข้างล่างแสดงผลของกระแสไฟฟ้าต่อร่างกายของเรา
ตารางผลของกระแสไฟฟ้าต่อร่างกาย
กระแส (A)
ผลต่อร่างกาย
0.001
0.005
0.010
0.015
0.070
รู้สึกได้
เจ็บปวด
ก้ามเนื้อกระตุก
ควบคุมร่างกายไม่ได้
อันตรายมากถึงตายได้ถ้าโดนไฟดูดนานกว่า 1 วินาที









ทุกปีมีคนถูกไฟ 120 ดูดตาย เราต้องใส่รองเท้ายางยืนบนที่แห้งจึงจะปลอดภัยจากการถูกไฟดูด ตรงกันข้ามถ้ายืนเท้าเปล่าบนพื้นเปียกความต้านทานของเราจะน้อยมากทำให้ถูกไฟดูด
น้ำบริสุทธิ์เป็นฉนวนแต่น้ำทั่วไปมักมีเกลือและสิ่งปนเปื้อนอื่นที่นำไฟฟ้าดี ดังนั้นเมื่อตัวเปียกต้องหลีกเลี่ยงเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด


นกที่เกาะบนสายไฟฟ้าแรงสูงซึ่งเป็นสายเปลือยมีศักดิ์ไฟฟ้าสูงเท่ากับเส้นลวด นกจึงไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของนกสัมผัสกับพื้นนกจะถูกไฟดูดทันที
เราสังเกตเห็นว่าปลักไฟหลายๆที่มีขากลางเป็นขาที่ 3 มาอีกขาหนึ่งนั่นคือสายดิน ซึ่งป้องกันเราจากไฟรั่วจากอุปกรณ์เพราะเมื่อมีไฟรั้วไฟนั้นจะไหลลงสู่ดิน


ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ (Direct Current and Alternating Current)

 กราฟบนคือกระแสตรง กราฟล่างคือกระแสสลับ

กระแสไฟฟ้ามีทั้งกระแสสลับ(ac) และกระแสตรง(dc) กระแสตรงคือกระแสไฟฟ้าที่ไหลทางเดียวเช่น ถ่านไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ขั้วบวกและขั้วลบของถ่านไฟฉายอยู่ทิศทางเดิมตลอด
ไฟฟ้ากระแสสลับมีการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้ากลับไปกลับมา 2 ทาง(ความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับของอเมริกา 60 Hz ส่วนในไทย 50 Hz) การส่งไฟฟ้าไปตามบ้านเรือนใช้เป็นกระแสสลับเนื่องจากเสียพลังงานไปในรูปความร้อนน้อย แปลงไฟฟ้าขึ้นและแปลลงได้ง่าย ในอเมริกาใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 120 Vส่วนยุโรปและไทยใช้ 220 V
การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง (Converting ac to dc)
เวลาเราชาตแบตเตอรี่มือถือซึ่งเป็นกระแสตรงจากไฟฟ้ากระแสสลับตามบ้านเรือน
เราต้องแปลงไฟฟ้าจาก 220 เป็น 12 ด้วยหม้อแปลง และแปลงกระแสสลับเป็นกระแสตรงด้วยไดโอด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว เมื่อกระแสสลับเปลี่ยนทิศกระแสสลับจะในแต่ละรอบ จะมีกระแสผ่านไดโอดได้แค่ครึ่งรอบ ทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ครึ่งเดียวอีกครึ่งรอบที่เหลือไม่มีไฟฟ้าไหลผ่าน เราเติมส่วนที่ขาดหายไปด้วยประจุจากตัวเก็บประจุ
ทำให้กระแสตรงที่ได้เรียบขึ้น

 ไดโอด

 ภายในสายชาตแบตเตอรี่มือถือ
ด้านขวาบนที่วงไว้เราจะเห็นไดโอด 4 ตัว 
 ใช้แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง

ภาพผังการทำงานของไดโอดในที่ชาตแบตเตอรี่มือถือ

 a.ไฟฟ้ากระแสสลับ b. ไฟฟ้ากระแสตรงหลังการแปลงด้วยไดโอด 1 ตัว
c. เพิ่มตัวเก็บประจุกับกระแสตรงครึ่งคลื่น d.เพิ่มตัวเก็บประจุกับกระแสตรงเต็มคลื่น
อัตราเร็วและแหล่งประจุอิเล็กตรอนในวงจรไฟฟ้า (Speed and Source of Electrons in a Circuit)
เมื่อเราเปิดสวิตไฟฟ้าทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร หลอดไฟฟ้าสว่างขึ้น สัญญาณโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วแสง
กระแสไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้องจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วหลายล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ก็ไม่มีกระแสเพราะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทุกทางไม่มีทิศทางเดียวที่แน่นอน จนกระทั่งนำแบตเตอรี่มาต่อสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลไปตามทิศทางที่แน่นอน
เช่นเดียวกับการที่ต่อไดนาโมเข้ากับวงจรไฟฟ้า ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าในเส้นลวดตัวนำเนื่องจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก ทำให้ประจุอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปในวงจรด้วยอัตราเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วแสง ลวดตัวนำทำหน้าที่เป็นท่อสำหรับสนามไฟฟ้า
ด้านนอกของลวดตัวนำเกิดสนามไฟฟ้าขึ้น ถ้าส่วนไดมีประจุมากก็จะมีสนามไฟฟ้ามากด้วย ส่วนด้านในเส้นลวดมีสนามไฟฟ้าตามความยาวของเส้นลวด ถ้ามีแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง อย่างเช่นแบตเตอรี่ที่แสดงในรูปที่ 6 เส้นสนามไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปตามทิศทางเดียวตามความยาวของเส้นลวดตัวนำ อิเล็กตรอนถูกเหนี่ยวนำให้เคลื่อนที่ไปตามเส้นเส้นลวดตัวนำ

a.
b.
 อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ในเส้นลวด
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
ในวงจรกระแสสลับอิเล็กตรอนอิสระไม่ได้ไหลไปตามวงจรไกลนัก แต่อิเล็กตรอนจะสั่นกลับไปกลับมาตามสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่มีทั้งบวกและลบ
เมื่อเราต่อหลอดไฟฟ้ากับไฟฟ้ากระแสสลับที่บ้านเราพลังงานไฟฟ้าเคลื่อนที่สู่หลอดไฟ ไม่ใช่อิเล็กตรอน พลังงานถูกส่งถ่ายไปเป็นช่วงๆตามสนามไฟฟ้าและตามการสั่นของอิเล็กตรอนในหลอดไฟ ถ้าไฟฟ้า 120จ่ายให้หลอดไฟ หมายความว่าพลังงาน 120 ถูกใช้ไปทุกๆ C ของประจุไฟฟ้าที่สั่นอยู่ พลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นความร้อนที่เหลือเป็นแสงสว่างเมื่อเราถูกไฟฟ้ากระแสสลับดูดพลังงานจะถูกส่งถ่ายจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวเราไปยังพื้นดินแต่อิเล็กตรอนไม่ได้ไหลลงดินด้วยแต่สั่นในร่างกายของเรา ถ้าสั่นแรงมากก็ทำให้ถึงตายได้
กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

ยกเว้นแต่การส่งไฟฟ้าไปตามตัวนำยิ่งยวดเท่านั้นที่จะไม่มีความร้อนระหว่างการนำไฟฟ้า ตัวนำชนิดอื่นมีความร้อนเกิดขึ้นระหว่างนำไฟฟ้าทั้งสิ้น ทำให้สายไฟขาด หรือมอเตอร์ไหม้ได้ 
อัตราที่พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปอื่นเรียกว่า กำลังไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลคูณระหว่างกระแสและความต่างศักดิ์


กำลัง กระแส ความต่างศักดิ์
P = IV

หน่วยคือ

วัตต์ แอมแปร์ โวลต์
หลอดไป 120 วัตต์ ต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า 12จะมีกระแสไฟไหลผ่าน A
(120 วัตต์ = 1A x 120V) เราสังเกตว่ายิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังไฟสูงจะต้องมีกระแสไหลผ่านมากแสดงว่ากินไฟมากนั่นเอง

วงจรไฟฟ้า (Electric Circuits)
วงจรไฟฟ้าจะครบวงจรมีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรได้ต้องไม่มีช่องว่างขาดจากกัน เราอาศัยสวิทปิดเปิดวงจรด้วยการสับสวิทให้ไฟฟ้าครบวงจรและยกสวิทขึ้นเพื่อตัดวงจรไม่ให้กระแสไหลผ่าน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับวงจรสามารถต่อได้ 2 วิธีคือ ต่อแบบอนุกรม และ ต่อแบบขนาน ดังนี้

วงจรแบบอนุกรม (Series Circuits)
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย มีหลอดไฟสามหลอดต่อเรียงกัน(อนุกรมกัน)แล้วต่อกับถ่านไฟฉาย กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟทั้งสามหลอดมีขนาดเท่ากัน หลอดไฟจะสว่างมากขึ้นถ้าเพิ่มกระแสให้มากขึ้น อิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งเคลื่อนที่ไฟตามสายไฟ เลี้ยงหลอดไฟ และไหลผ่านถ่านไฟฉาย ถ้าหลอดไฟอันไดอันหนึ่งขาดหลอดไฟทั้งหมดจะดับลง

 วงจรแบบอนุกรม

คุณสมบัติของการต่ออุปกรณ์แบบอนุกรมมีดังนี้
1. กระแสที่ผ่านอุปกรณ์ทุกตัวมีค่าเท่ากัน
2. ความต้านทานรวมของวงจรคือผลบวกของตัวต้านทานทั้งหมดในวงจร
3. กระแสของวงจรมีค่าเท่ากับความต่างศักดิ์ของแหล่งจ่ายไฟหารด้วยความต้านทานรวม
4. ความต่างศักดิ์ตกคร่อมแต่ละอุปกรณ์ในการต่อแบบอนุกรมมีค่าลดลงจากความต่างศักดิ์จากแหล่งจ่ายไฟฟ้า
5. ผลรวมของความต่างศักดิ์ตกคร่อมของอุปกรณ์ทุกตัวเท่ากับความต่างศักดิ์จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก
6ความต่างศักดิ์ตกคร่อมอุปกรณ์แต่ละตัวลดลงตามกฎของโอห์ม เนื่องจากพลังงานจะลดลงเมื่อกระแสที่เท่ากันผ่านความต้านทานสูง
ข้อเสียของการต่อแบบอนุกรมคือเมื่อหลอดไฟหลอดไดหลอดหนึ่งขาดจะทำให้หลอดไฟทั้งวงจรขาดด้วย ดังนั้นการต่อไฟฟ้าตามบ้านเรือนจึงต่อแบบขนาน

วงจรแบบขนาน (Parallel Circuits)
วงจรขนานอย่างงายแสดงในรูป หลอดไฟสามหลอดต่อกับจุด 2 จุด และ เรียกว่าการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบขนาน ถ้าหลอดไฟหลอดไดหลอดหนึ่งขาดหลอดที่เหลือก็ยังสว่างต่อได้

วงจรแบบขนาน

คุณสมบัติของการต่ออุปกรณ์แบบขนานมีดังนี้
1. ความต่างศักดิ์ตกคร่อมอุปกรณ์ที่ขนานกันมีค่าเท่ากัน
2. ยิ่งต่อแบบขนานมากความต้านทานรวมของวงจรยิ่งน้อยลง
3. ความต่างศักดิ์ของวงจรเท่ากับความต่างศักดิ์ของแหล่งจ่ายไฟฟ้า
4. กระแสผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวจะมีค่าลดลงจากกระแสในวงจรหลักเนื่องจากมีการแยกกระแสออกหลายทาง ยิ่งอุปกรณ์ที่มีความต้านทานมากกระแสจะลดต่ำลง
5. ผลรวมของกระแสทุกแขนงเท่ากับกระแสหลักของวงจร
6กระแสผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวลดลงตามกฎของโอห์ม เนื่องจากกระแสจะลดลงเมื่อความต่างศักดิ์ที่เท่ากันผ่านความต้านทานสูง

วงจรแบบขนานและกระแสไฟเกิน (Parallel Circuits and Overloading)
เราเดินไฟฟ้าตามบ้านเรือนด้วยเส้นไฟฟ้าหลัก 2 เส้น แล้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ากันแบบขนาน ยิ่งเราต่อมากความต้านทานรวมของทั้งวงจรลดลงทำให้กระแสไฟเกินจนอาจเกิดเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นจึงต้องต่อฟิวส์เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

ฟิวส์ (Safety Fuses)
เพื่อป้องกระแสเกินในวงจรซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไหม้ได้ เราจึงต้องใช้ฟิวส์เพื่อตัดไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟเกิน หลักการทำงานก็คือฟิวส์เป็นลวดตัวนำที่จะหลอมตัวเองขาดออกเมื่อมีกระแสไฟฟ้าเกินกว่าค่าคงที่ค่าหนึ่ง เช่น ฟิวส์ขนาดกระแส 20 แอมแปร์ จะสามารถส่งกระแสที่มากกว่าหรือเท่ากับ 20 แอมแปร์ได้แต่ถ้าเกินก็จะหลอมขาดออกทำให้หยุดการจ่ายไฟฟ้าเนื่องจากฟิวส์ขาด กรณีที่จะมีกระแสไฟฟ้าเกินได้อย่างเช่น ไฟรั่ว กระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟชอต เป็นต้น ถ้ามีฟิวส์ก็จะช่วยรักษาชีวิตของคนที่ถูกไฟชอตได้ แต่ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ทำงานได้ดีกว่าฟิวส์คือเบรกเกอร์ หรือที่เราคุ้นหูในชื่อยี่ห้อ เซฟทีคัต อาศัยการทำงานของแม่เหล็กกับเทอร์โมสเตต (หาความรู้เพิ่มเติมได้ในเรื่องที่ 4 บทที่ 4 อุณหภูมิความร้อน) เบรกเกอร์ทำงานได้ดีกว่าฟิวส์เพราะว่าถ้ามีไฟชอตก็จะมีการตัดไฟได้ทันที อีกอย่างคือเมื่อเริ่มใช้งานใหม่ก็เพียงกดปุ่มเริ่มทำงานไม่ต้องตัดสะพานไฟ(คัตเอ้า)เพื่อตัดไฟของทั้งบ้าน แล้วเอาลวดตะกั่วไปเปลี่ยนฟิวส์เหมือนในสมัยก่อน เมื่อก่อนสมัยเด็กครูเป็นคนถือเทียนให้พ่อเวลาพ่อเปลี่ยนฟิวส์ ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้เบรกเกอร์แทน รู้สึกว่าปลอดภัยขึ้นมาก



ที่มา : http://a2u-club.blogspot.com/2009/07/blog-post_5615.html




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น